ตัวอย่างการทำ Rebalancing Portfolio

สวัสดีปีใหม่ปี 2017 ครับทุกท่าน วันนี้ต้นปีไฟแรงเว่อร์ ลุกมาเขียนตัวอย่างผลลัพธ์การทำ Rebalancing พอร์ตนะครับ ^^

ก่อนอื่นเกริ่นซักนิด เผื่อใครไม่ได้อ่านบทความ Asset Allocation มาก่อน การทำ Rebalancing ก็คือการปรับสัดส่วนการลงทุนให้กลับมาเข้าที่เข้าทางตามที่ได้ออกแบบไว้ ยกตัวอย่างเช่น เราตั้งใจจะลงทุนด้วยสูตร 70/30 (หุ้น 70/ ตราสารหนี้ 30) สมมุติหุ้นขึ้นกระทิงสุดๆ พอร์ตเราอาจกลายเป็น 90/10 ได้เลยนะครับ นั่นแปลว่าสัดส่วนมันผิดเพี้ยนไปอย่างมาก เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราจึงควรทำ Rebalancing แต่ใครจะทำแบบ Time-based หรือ Threshold-based และถี่แค่ไหนอันนี้เรายังไม่พูดถึงนะครับ (ต้องใส่ศัพท์แสงให้ดูดีมีวิชาการบ้าง อิอิ) นอกจากนี้การทำ Rebalancing ยังอาจช่วยให้เราซื้อ Low ขาย High ได้ด้วยนะในบางกรณี ว่าแล้วไปดูตัวอย่างกันเลย

ตัวอย่างที่เราจะใช้คือ สูตร 70/30 (หุ้น 70/ ตราสารหนี้ 30) โดยเลือกใช้กองทุน TMB50/T-TSB ครับ และเราจะเริ่มลงทุนด้วยเงิน 100,000 บาท ต้นปีเปิดมาวันแรกเราจะซื้อตามสัดส่วน 70/30 และปลายปีวันสุดท้ายเราจะขายออกให้หมด และต้นปีถัดไปเราจะนำเงินที่ได้ทั้งหมดไม่ว่ากำไรหรือขาดทุนเข้าซื้อกองทุนใหม่ในสัดส่วน 70/30 อีกเช่นเคย ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ว่าแล้วมาลองดูตารางที่จำลองสถานการณ์ขึ้นมาครับ

คือปลายปีเราจะขายทิ้งทั้งหมด และนำเงินที่ได้มารวมกันเป็นก้อนเดียว แล้วแบ่งซื้อใหม่ในปีถัดไป 70/30 ผลที่ได้ก็อย่างที่เห็นนะครับ ส่วนคอลัมน์ขวามือสุดท้ายคือการเปรียบเทียบว่าเราถือแต่กองหุ้น TMB50 อย่างเดียวซึ่งไม่สามารถทำ Rebalancing ใดๆได้เลย เพื่อให้เห็นข้อแตกต่างครับ

สรุปที่ได้จากตัวอย่างข้างต้น

  • การแบ่งสัดส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้บ้าง ช่วยให้เราสามารถทำ Rebalancing ได้ โดยไม่ต้องไปจับจังหวะหรือกะเก็งตลาดเองเมื่อเทียบกับการลงทุนหุ้น 100%
  • ตัวอย่างข้างต้นแม้ผลลัพธ์หลังผ่าน 4 ปีไปพอร์ต 70/30 Rebalanced จะชนะตลาด แต่นั่นเป็นเพราะตัวอย่างนี้ใช้ TMB50 ซึ่งตลาดมันวนเวียนไม่ไปไหน จึงพออนุมานได้ว่า ถ้าตลาดมีขึ้นมีลง การทำ Rebalancing จะช่วยให้ได้ขายที่ Higher และซื้อได้ที่ Lower บ้างไม่มากก็น้อย แต่หากตลาดเป็นขาขึ้นแบบเต็มตัว แน่นอนว่าการถือหุ้น 100% น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
  • ตัวอย่างนี้แค่ให้แนวคิดและข้อคิดเท่านั้นนะ ไม่อาจยึดถือว่าทำแล้วจะได้ผลตอบแทนดีกว่ากรณีใช้วิธีจัดพอร์ตแบบอื่นๆ
  • สรุปแล้วการทำ Rebalancing เราเน้นลดหรือควบคุมความเสี่ยงมากกว่า แต่มันช่วยเสริมการขายทำกำไรบ้างแบบไม่ต้องกะเก็งตลาดมากนักเท่านั้นเอง ^^

หมายเหตุ

  • ตารางข้างต้นใช้แต่ราคาเราซื้อกองทุนเท่านั้น เพราะฉะนั้นลงทุนจริงอาจมีผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ก็น้อยยยยมากจนแทบไม่มีนัยยะใดๆ
  • เราอาจไม่จำเป็นต้องขายทิ้งทุกกองทุนทั้งหมดเพื่อเริ่มซื้อใหม่ก็ได้ เพราะจะเปลืองค่าธรรมเนียม เราอาจขายเฉพาะสัดส่วนที่มันเกินออกมาเท่านั้น แต่ผมเลือกใช้วิธีที่ง่ายต่อการคำนวณ ลองคิดดูว่าเราถือ 10 กองทุนดูสิ (ขี้เกียจว่างั้นเถอะ) ดังนั้นใครใช้วิธีขายทิ้งทั้งหมดก็ควรเลือกใช้กองทุนที่มีค่าธรรมเนียมซื้อขายที่ต่ำๆหรือไม่มีเลย ^^

Simply is the best และขี้เกียจอย่างมีชั้นเชิงครับ ^^