ตัวอย่างผลตอบแทนของการจัดพอร์ตแบบ Relative

วันนี้มีมุมมองการจัดพอร์ตการลงทุนแบบ Relative Return มาให้ดูกัน สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า Relative Return Portfolio คืออะไร ก็ลองอ่านบทความนี้ดูก่อนครับ “Relative VS Absolute Portfolios” ใครขี้เกียจอ่านใจร้อน อธิบายเร็วๆอย่างนี้นะ Relative Port คือการจัดพอร์ตให้ขึ้นลงสอดคล้องไปกับตลาด นานๆที Rebalance ที ไม่กะเก็งตลาดมากนัก หรือจะเรียกว่า Lazy Port ก็ได้นะ พอจบ ส่วนที่จะเอามาพูดวันนี้คือเรื่องผลตอบแทน ก่อนอื่นเลยไปดูกราฟผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนและดัชนีชี้วัดกันก่อนดังนี้

relative_port_performance

สีส้มคือ กองทุน JP Morgan Thailand Fund (JFTHAII:HK)
สีฟ้าคือ กองทุน iShares MSCI Thailand Capped ETF
สีแดงคือ ดัชนี SET 50
สีเขียวคือ ดัชนี SET

สรุปคือมีสองกองทุนและสองดัชนีชี้วัด ซึ่งเราจะเห็นว่าการขึ้นลงของกองทุนนั้นสอดคล้องไปกับตลาดเลยหรือ Relative นั่นเอง แต่แต่แต่ ระดับการขึ้นลงมันมีองศาที่ต่างกัน อย่างกองทุน JP Morgan เวลาขึ้นมันขึ้นได้มากกว่าตลาด หากเราดูรายวันรายสัปดาห์ เราอาจไม่เห็นความแตกต่าง แต่เมื่อเวลาผ่านไปกำไรที่ขึ้นมากกว่าทีละนิด มันสะสมพลังและสะท้อนออกมาใน NAV จากรูปเราจะเห็นว่า JP Morgan ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีถึง 70% ในขณะที่ SET50 ให้ผลตอบแทนที่ 36% เท่านั้น หากเราไปชำแหละเนื้อในกองทุน JP Morgan ดู (จำลิงค์ไม่ได้แล้ว หายากหาเย็น ขออภัย) เราจะเห็นว่า ก็เหมือนๆกับกองทุนรวมทั่วไปนั่นแหละ คือถือหุ้นเยอะมากประมาณ 25-40 ตัว และกระจายตัวแทบทุกอุตสาหกรรม แต่เนื่องจากเขาเป็นกองแบบ Relative Active-based คือมุ่งเอาชนะตลาด (ไม่ใช่สวนตลาด) เขาจึงให้น้ำหนักหุ้นและอุตสาหกรรมที่ไม่เท่าตลาด แต่จะเลือกตัวที่ราคาต่ำกว่าพื้นฐาน รวมทั้งอาจผสมผสานแนวโมเมนตัมเข้าไปด้วยก็ได้ และสิ่งที่เขาเลือกมันถูกต้อง ผลก็เลยเป็นอย่างที่เห็นคือ สอดคล้องและชนะตลาด ครับ ทำไมผมถึงใช้คำว่าสอดคล้อง เพราะช่วงเวลาที่ตลาดไม่ดี ผลงานเขาก็ไม่ดีเช่นกัน ดูปี 2013 และ 2015 เป็นตัวอย่าง
ทีนี้ประเด็นที่ผมอยากจะพูดเกี่ยวกับการจัดพอร์ตแบบ Relative Return เช่นนี้คือ เขาไม่กะเก็งตลาดครับ ยังไง? คือไม่มีการขายล้างพอร์ตหรือลดพอร์ตแบบมีนัยยะ เช่น ถือหุ้นเหลือเพียงแค่ 10% เป็นต้น ซึ่งกองทุนรวมหุ้นโดยมากถือหุ้นเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่ต่ำกว่า 60-70% อยู่แล้ว ผลตอบแทนมันถึงเป็น Relative อย่างที่เห็น ส่วนผลตอบแทนจะดีกว่าหรือแย่กว่าตลาดก็อยู่ที่สัดส่วนการถือและตัวหุ้นที่เลือกครับ ย้ำนะครับพอร์ตแบบนี้การกะเก็งก็มีบ้างแต่ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนของหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ ถ้าจะให้เปรียบเทียบให้เห็นภาพกับพอร์ตที่เป็น Absolute Return หรือพวกที่ไม่สอดคล้องไปกับตลาด ก็คงต้องยกตัวอย่างกองทุนประเภทผสมแบบ Flexible ที่เขาสามารถถือหุ้นได้ตั้งแต่ 0-100% ครับ โดยปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่คนจัดพอร์ตเห็นสมควร ส่วนการจัดพอร์ตแบบไหนดีกว่า ไม่มีนะครับ มีแต่แบบไหนเหมาะกับเรามากกว่าเท่านั้น และผลตอบแทนของ Absolute Return ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือคนจัดด้วย แล้วเราจัดพอร์ตแบบไหนกันครับ เรากะเก็งตลาดมากหรือไม่ แล้วผลลัพธ์ที่ได้หล่ะ ดีกว่า Relative Port หรือไม่ครับ? บางทีเราทำการบ้าน ค้นหาหุ้นเหนื่อยแทบตาย อย่าว่าแต่ชนะตลาดเลย ผลตอบแทนติดลบ ปัดโธ่ ถ้างั้นลองเอาแนวคิดนี้ไปปรับใช้ดูไหม ได้ทั้ง Lazy ได้ทั้งผลตอบแทนที่ดีด้วย ทำไงอ่ะ ก็ซื้อกองทุนไงหรือจัดพอร์ตแบบกองทุน ก็เห็นๆอยู่ระยะยาวเขาชนะเรา (ถ้าเราชนะก็ไม่ต้องซื้อ) เห้ย แค่ซื้อกองทุนแล้วถือไว้เฉยๆเองเหรอ น่าเบื่อไปป่าว ถ้าเบื่อก็ลองหาวิธีเพิ่มผลตอบแทน เช่นอาจกะเก็งสัดส่วนและช่วงเวลาที่ซื้อบ้าง เลือกผสมหลากหลายกองทุนบ้าง เช่น Mid/Small Cap, Big Cap, Low-Beta เป็นต้น แต่เตือนไว้ก่อนนะ ให้กะเก็งเล็กน้อยเท่านั้น ไม่งั้นก็เข้าสู่วงจรเดิม ซื้อกองก็ดอย ขายสลับปุ้บมันวิ่ง เข้าของใหม่ปุ้บมันดอย เฮ้อ (อ่อ และอย่าสับสนกับการทำ Asset Allocation นะ นั่นอีกเรื่องหนึ่ง เคสนี้ที่พิมพ์มายาวเหยียด มันเทียบแล้วคือสูตร Asset Allocation แบบถือหุ้น 100% ครับ)

ปูลู แถมกองทุน BTP ให้อีกกองหนึ่งเพื่อเปรียบเทียบ กองทุน BTP เป็นกองทุนที่มีนโยบายถือหุ้นน้อยตัวประมาณ 10 ตัว การขึ้นลงของกองทุนก็สอดคล้องกับตลาด แต่ผลงานเขาทำได้ดีกว่าตลาดมาก เลยอาจดูว่าไม่สอดคล้อง ถ้าไม่สอดคล้องจริง กราฟมันจะมีการตัดกันบ้างครับ

relative_port_performance2

ปูลูอีก เราอาจเอาแนวคิดนี้ไปปรับใช้ ไม่ต้องซื้อกองทุนก็ได้ ซื้อหุ้นเอง หรือเราอาจซื้อกองทุนแต่ปรับสัดส่วนด้วยการทำ Asset Allocation เพื่อปรับระดับความเสี่ยงให้เหมาะสมกับเราก็ได้

ปูลูสุดท้ายแระ ถ้า Active มากๆแล้วผลงานไม่ดีหรือถึงขั้นติดลบ ก็ลองพิจารณา Relative and Lazy ดูเน้อ แค่แชร์มุมมอง ดอยใครดอยมันนะครับ ^.^